ระหว่างการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิพลเมืองของสหรัฐอเมริกา ลีอาห์ เชส แม่ครัวที่มีชื่อเสียงของรัฐนิวออลีนส์ทำในสิ่งที่เธอทำได้ เธอเตรียมอาหารและเลี้ยงดูฝูงชนที่มาเดินขบวนเรียกร้องความเสมอภาคสำหรับทุกคน เธอกล่าวว่า “ฉันแค่ทำอาหารเลี้ยงฝูงชน พวกเขากำลังต่อสู้เพื่อบางสิ่ง และพวกเขาก็ไม่รู้ว่าจะต้องพบเจออะไรเมื่อออกไปที่นั่น พวกเขาไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขาบนถนน แต่เมื่ออยู่ที่นี่พวกเขารู้ว่าฉันจะเลี้ยงอาหารพวกเขา นั่นคือสิ่งที่ฉันทำให้กับพวกเขาได้”
บางครั้งของประทานเรื่องความมีน้ำใจอาจจะถูกมองข้าม แต่ของประทานนี้ก็สำคัญเท่ากับของประทานอื่นๆในการรับใช้กันและกันในพระคริสต์ นักธุรกิจหญิงคนหนึ่งชื่อลิเดีย “เป็นคนขายผ้าสีม่วง” (กจ.16:14) ได้แสดงน้ำใจต่ออัครทูตเปาโลและกลุ่มผู้ร่วมประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูแก่ชาวเมืองมาซิโดเนีย (ข้อ 11-15) เธอให้สิ่งที่มีคือบ้านของเธอเพื่อช่วยกลุ่มผู้เดินทาง หลังจากเปิดใจรับข่าวประเสริฐ ลิเดียมุ่งมั่นที่จะจัดเตรียมที่พักให้แก่เหล่าผู้ประกาศ โดยกล่าวว่า “ถ้าท่านเห็นว่าข้าพเจ้าเป็นคนสัตย์ซื่อต่อพระเจ้า เชิญเข้ามาพักอาศัยในตึกของข้าพเจ้าเถิด” (ข้อ 15) เช่นเดียวกับพวกผู้เรียกร้องสิทธิความเสมอภาค เปาโลและพวกผู้ประกาศจึงไม่ต้องกังวลในเรื่องอาหารเพราะความมีน้ำใจของลิเดีย
ของประทานในการมีน้ำใจนี้อาจเป็นการให้ความช่วยเหลือคนทุกกลุ่มทั้งที่เป็นผู้เชื่อและผู้ที่ต้องการพระเยซู ขอให้เรารับใช้ผู้อื่นตามที่พระเจ้าทรงจัดเตรียมสิ่งจำเป็นไว้ให้กับเราเพื่อช่วยเหลือพวกเขา
ฉันไม่เคยได้ยินเจ็ดคำสุดท้ายของพระคริสต์มาก่อน จนกระทั่งได้เข้าร่วมกับคริสตจักรปัจจุบันที่ฉันไปในชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ฉันยังจำได้ว่าเคยค้นหาพระคัมภีร์หลังจากที่ได้ยินว่ามีการเทศนาถึง “เจ็ดคำสุดท้าย” เพื่อนับถ้อยคำที่พระเยซูตรัสก่อนจะสิ้นพระชนม์ แต่ฉันก็ไม่เคยหาเจ็ดคำนั้นเจอเลย แต่ต่อมา ฉันได้ร่วมนมัสการในหัวข้อ เจ็ดคำสุดท้าย เป็นครั้งแรกที่โบสถ์ของฉันในวันศุกร์ประเสริฐ ระหว่างการประชุมนี้ ห้องนมัสการแออัดไปด้วยสมาชิกเกือบทั้งหมดของคริสตจักรและแขกผู้มาเยือน เพื่อรับฟังคำเทศนาจากศิษยาภิบาลเจ็ดคน ศิษยาภิบาลเหล่านี้แบ่งปันจากพระกิตติคุณ สอนถึงคำพูดเจ็ดประโยคที่พระเยซูตรัสขณะทรงถูกตรึงอยู่บนไม้กางเขน และนั่นคือตอนที่ฉันได้เข้าใจ และได้เรียนรู้ถ้อยคำทั้งเจ็ดที่พระเยซูทรงตรัสก่อนสิ้นพระชนม์
ศุกร์ประเสริฐแต่ละครั้งที่ฉันเข้าร่วมนมัสการและได้ฟังคำเทศนาที่ได้รับแรงบันดาลใจจากถ้อยคำทั้งเจ็ด เป็นการเทศนาที่ยาวมากหากฟังในคราวเดียว ฉันได้ยินสิ่งใหม่ๆ ที่ต่างออกไปและให้แรงบันดาลใจ แก่ฉันให้ยึดมั่นในองค์พระเยซูมากขึ้น ในพระลักษณะอันน่าทึ่งของพระองค์ และในแบบอย่างที่พระองค์ทรงสำแดงแก่เหล่าสาวกขณะทรงสิ้นพระชนม์
เมื่อฉันได้ยิน "โอพระบิดาเจ้าข้า ขอโปรดอภัยโทษเขา" (ลูกา 23:34) ฉันเห็นพระคริสต์ทรงเป็นแบบอย่างของการให้อภัย แม้กระทั่งในเรื่องที่ยากที่สุดของชีวิต เช่น เมื่อมีการกระทำอย่างมุ่งร้ายเพื่อสร้างความเจ็บปวดต่อตัวฉันหรือคนที่ฉันรัก ฉันจะให้อภัยได้อย่างไร ฉันต้องขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าและระลึกถึงคำตรัสของพระเยซูผ่านมุมมองและความเจ็บปวดของพระองค์
เมื่อฉันได้ยิน "วันนี้เจ้าจะอยู่กับเราในเมืองบรมสุขเกษม" (ลูกา 23:43) ฉันไม่เพียงได้ยินพระเยซูทรงให้อภัย แต่ฉันเห็นพระองค์ฟื้นใจคนบาปกลับขึ้นมาใหม่ ฉันเห็นพระองค์สำแดงพระวจนะที่กล่าวว่า พระองค์จะทรงลบบาปของทุกคนที่หันมาหาพระองค์และประทานชีวิตนิรันดร์ ไม่ว่าอดีตของเราจะเป็นเช่นไร (ดู มัทธิว 9:2 และ ยอห์น 3:16) ฉันเห็นความปรารถนาของพระองค์ที่จะทรงอยู่กับเราตลอดไป
เมื่อฉันได้ยิน "หญิงเอ๋ย จงดูบุตรของท่านเถิด" และกับสาวกที่พระองค์ทรงรัก "จงดูมารดาของท่านเถิด" (ยอห์น 19:26-27) ฉันเห็นพระคริสต์ทรงห่วงใยผู้อื่นแม้ในขณะที่ทรงทุกข์ทรมานแสนสาหัส…
ฉันไม่เคยได้ยินเจ็ดคำสุดท้ายของพระคริสต์มาก่อน จนกระทั่งได้เข้าร่วมกับคริสตจักรปัจจุบันที่ฉันไปในชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ฉันยังจำได้ว่าเคยค้นหาพระคัมภีร์หลังจากที่ได้ยินว่ามีการเทศนาถึง “เจ็ดคำสุดท้าย” เพื่อนับถ้อยคำที่พระเยซูตรัสก่อนจะสิ้นพระชนม์ แต่ฉันก็ไม่เคยหาเจ็ดคำนั้นเจอเลย แต่ต่อมา ฉันได้ร่วมนมัสการในหัวข้อ เจ็ดคำสุดท้าย เป็นครั้งแรกที่โบสถ์ของฉันในวันศุกร์ประเสริฐ ระหว่างการประชุมนี้ ห้องนมัสการแออัดไปด้วยสมาชิกเกือบทั้งหมดของคริสตจักรและแขกผู้มาเยือน เพื่อรับฟังคำเทศนาจากศิษยาภิบาลเจ็ดคน ศิษยาภิบาลเหล่านี้แบ่งปันจากพระกิตติคุณ สอนถึงคำพูดเจ็ดประโยคที่พระเยซูตรัสขณะทรงถูกตรึงอยู่บนไม้กางเขน และนั่นคือตอนที่ฉันได้เข้าใจ และได้เรียนรู้ถ้อยคำทั้งเจ็ดที่พระเยซูทรงตรัสก่อนสิ้นพระชนม์
ศุกร์ประเสริฐแต่ละครั้งที่ฉันเข้าร่วมนมัสการและได้ฟังคำเทศนาที่ได้รับแรงบันดาลใจจากถ้อยคำทั้งเจ็ด เป็นการเทศนาที่ยาวมากหากฟังในคราวเดียว ฉันได้ยินสิ่งใหม่ๆ ที่ต่างออกไปและให้แรงบันดาลใจ แก่ฉันให้ยึดมั่นในองค์พระเยซูมากขึ้น ในพระลักษณะอันน่าทึ่งของพระองค์ และในแบบอย่างที่พระองค์ทรงสำแดงแก่เหล่าสาวกขณะทรงสิ้นพระชนม์
เมื่อฉันได้ยิน "โอพระบิดาเจ้าข้า ขอโปรดอภัยโทษเขา" (ลูกา 23:34) ฉันเห็นพระคริสต์ทรงเป็นแบบอย่างของการให้อภัย แม้กระทั่งในเรื่องที่ยากที่สุดของชีวิต เช่น เมื่อมีการกระทำอย่างมุ่งร้ายเพื่อสร้างความเจ็บปวดต่อตัวฉันหรือคนที่ฉันรัก ฉันจะให้อภัยได้อย่างไร ฉันต้องขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าและระลึกถึงคำตรัสของพระเยซูผ่านมุมมองและความเจ็บปวดของพระองค์
เมื่อฉันได้ยิน "วันนี้เจ้าจะอยู่กับเราในเมืองบรมสุขเกษม" (ลูกา 23:43) ฉันไม่เพียงได้ยินพระเยซูทรงให้อภัย แต่ฉันเห็นพระองค์ฟื้นใจคนบาปกลับขึ้นมาใหม่ ฉันเห็นพระองค์สำแดงพระวจนะที่กล่าวว่า พระองค์จะทรงลบบาปของทุกคนที่หันมาหาพระองค์และประทานชีวิตนิรันดร์ ไม่ว่าอดีตของเราจะเป็นเช่นไร (ดู มัทธิว 9:2 และ ยอห์น 3:16) ฉันเห็นความปรารถนาของพระองค์ที่จะทรงอยู่กับเราตลอดไป
เมื่อฉันได้ยิน "หญิงเอ๋ย จงดูบุตรของท่านเถิด" และกับสาวกที่พระองค์ทรงรัก "จงดูมารดาของท่านเถิด" (ยอห์น 19:26-27) ฉันเห็นพระคริสต์ทรงห่วงใยผู้อื่นแม้ในขณะที่ทรงทุกข์ทรมานแสนสาหัส…
เมื่อฉันเข้ามาในคริสตจักรหลังจากที่มีการกักตัวช่วงโควิดเป็นเวลาหลายเดือน ฉันตื่นเต้นที่ได้พบสมาชิกที่ไม่ได้เจอหน้ากันมาระยะหนึ่ง ฉันตระหนักว่ามีบางคนโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่ได้กลับมา ทั้งด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัยและอื่นๆ แต่น่าเศร้าที่บางคนก็จากโลกนี้ไปแล้ว ดังนั้นฉันจึงตื่นเต้นเป็นพิเศษเมื่อได้เห็นสามีภรรยาสูงวัยคู่หนึ่งเดินเข้ามาในห้องนมัสการและนั่งตรงที่นั่งประจำด้านหลังฉัน ฉันโบกมือให้เขาทั้งสอง สามีโบกมือตอบขณะที่ภรรยาของเขาได้แต่จ้องมองที่ฉันโดยไม่มีรอยยิ้ม ฉันรู้สึกเจ็บปวดและสงสัยว่าเพราะเหตุใด
สองสามสัปดาห์ต่อมาฉันสังเกตเห็นหญิงผู้เป็นภรรยาคนนั้น ได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนที่เป็นเหมือนผู้ดูแลเมื่อเธอต้องยืนขึ้นหรือนั่งลง เพื่อนสูงวัยของฉันป่วยมากและจำฉันไม่ได้ ฉันดีใจที่ไม่ได้ต่อว่าหรือโกรธตอนที่เธอไม่ได้ตอบสนองการทักทายของฉัน
พระธรรมสุภาษิตหลายตอนให้คำแนะนำเกี่ยวกับการมีชีวิตอย่างมีสติปัญญา และการไม่ฉุนเฉียวง่ายก็เป็นเหมือนอัญมณี แท้จริงแล้ว สุภาษิตกล่าวว่า “สามัญสำนึกที่ดี...และที่มองข้าม[ความผิด]ไปเสียก็เป็นศักดิ์ศรีแก่เขา” (ข้อ 11) การเลือกที่จะไม่ฉุนเฉียวและเรียนรู้ที่จะ “โกรธช้า” (ข้อ 11) จะนำศักดิ์ศรีมาสู่เรา อาจต้องอาศัยความอดทนและ “ปัญญา” (ข้อ 8) แต่รางวัลที่จะได้รับนั้นก็ควรค่าแก่การที่เราจะมองข้ามตัวเอง และเลือกที่จะรักผู้อื่น
หญิงคนหนึ่งตั้งหน้าตั้งตาถักเสื้อกันหนาวขณะอยู่บนเที่ยวบินห้าชั่วโมง ในขณะที่ถักไหมพรมเข้าออกแต่ละห่วง เธอสังเกตว่ามีทารกวัยห้าเดือนมองดูการเคลื่อนไหวของเธออย่างสนอกสนใจ เธอจึงเกิดความคิดว่า แทนที่จะถักเสื้อกันหนาวที่กำลังทำอยู่ให้เสร็จ เธอน่าจะถักหมวกให้กับผู้ชมตัวน้อยของเธอ เธอต้องทำหมวกให้เสร็จภายในเวลาที่เหลือของเที่ยวบินคือเพียงหนึ่งชั่วโมง! เมื่อหญิงคนนี้นำหมวกใบเล็กไปให้แม่ของเด็กน้อย ทั้งครอบครัวรับไว้ด้วยความยินดีขณะที่ผู้โดยสารคนอื่นๆพากันยิ้มและปรบมือ
ของขวัญที่สร้างความประหลาดใจมักจะทำให้ผู้รับรู้สึกยินดี ไม่ว่าจะเป็นของขวัญที่เราต้องการจริงๆหรือเพียงแค่อยากได้ ของขวัญเหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่ผู้ให้สำแดงความเมตตาของพระคริสต์กับเรา ในคริสตจักรยุคแรก ทาบิธาเป็นที่รู้จักในเรื่องการบริจาคเสื้อผ้าและ “กระทำการอันเป็นคุณประโยชน์และให้ทานมามากแล้ว” (กจ.9:36) เมื่อเธอเสียชีวิต ผู้ที่ได้รับบริจาคพากันชี้ให้ดู “เสื้อผ้าต่างๆซึ่ง [เธอ]ทำ” (ข้อ 39) พวกเขาเป็นพยานถึงความเมตตาและการที่เธอได้สัมผัสชีวิตของพวกเขา
ในเหตุการณ์พลิกผันอันแสนอัศจรรย์นี้ เปโตรซึ่งประกอบด้วยฤทธิ์เดชของพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ทำให้ทาบิธากลับมามีชีวิต (ข้อ 40) สิ่งที่ท่านทำนำความยินดีมาสู่ผู้คนที่รักเธอ และนำคนเป็นอันมากมาเชื่อในพระคริสต์ (ข้อ 42)
การสำแดงความเมตตาของเราอาจเป็นคำพยานที่น่าจดจำที่สุดที่เราได้ทำ เมื่อพระเจ้าทรงจัดเตรียม ให้เราแบ่งปันของขวัญที่สร้างความประหลาดใจแก่ผู้อื่นในวันนี้
ขณะเป็นผู้เชื่อใหม่ในพระเยซู ฉันหยิบพระคัมภีร์เพื่อการเฝ้าเดี่ยวเล่มใหม่ขึ้นมาและอ่านข้อที่คุ้นเคยว่า “จงขอแล้วจะได้” (มธ.7:7) มีคำอธิบายเขียนไว้ว่า สิ่งที่เราควรทูลขอจากพระเจ้าจริงๆคือขอให้ความตั้งใจของเราสอดคล้องกับน้ำพระทัยของพระองค์ เมื่อเราแสวงหาให้น้ำพระทัยของพระองค์สำเร็จ เราก็มั่นใจได้ว่าเราจะได้รับสิ่งที่ทูลขอ นั่นเป็นแนวคิดใหม่สำหรับฉัน และฉันก็ได้อธิษฐานขอให้น้ำพระทัยของพระเจ้าสำเร็จในชีวิตของฉัน
ต่อมาในวันเดียวกันนั้นเอง ฉันรู้สึกตื่นเต้นอย่างไม่คาดคิดเกี่ยวกับโอกาสในการทำงานที่ฉันได้ปฏิเสธในใจไปแล้ว และฉันก็นึกถึงคำอธิษฐานนั้น บางทีสิ่งที่ฉันไม่คิดว่าตัวเองต้องการอาจเป็นส่วนหนึ่งของน้ำพระทัยพระเจ้าสำหรับชีวิตฉัน ฉันอธิษฐานต่อไปและรับงานนั้นในที่สุด
พระเยซูทรงวางแบบอย่างนี้ให้แก่เราในช่วงเวลาที่จริงจังและมีความสำคัญชั่วนิรันดร์ ก่อนการทรยศและถูกจับไปตรึงกางเขน พระองค์อธิษฐานว่า “พระบิดาเจ้าข้า ถ้าพระองค์พอพระทัย ขอให้ถ้วยนี้เลื่อนพ้นไป... แต่...อย่าให้เป็นไปตามใจข้าพระองค์ แต่ให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์เถิด” (ลก.22:42) คำอธิษฐานของพระคริสต์เต็มไปด้วยความเจ็บปวดและทุกข์ทรมานขณะที่ทรงเผชิญความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและจิตใจ (ข้อ 44) แต่พระองค์ยังทรงสามารถอธิษฐาน “อย่างจริงจัง” (TNCV) เพื่อให้น้ำพระทัยของพระเจ้านั้นสำเร็จ
ให้น้ำพระทัยพระเจ้าสำเร็จได้กลายเป็นคำอธิษฐานสูงสุดของชีวิตฉัน หมายความว่าฉันอาจปรารถนาสิ่งที่ตัวเองไม่รู้ด้วยซ้ำว่าต้องการหรือไม่ งานที่ฉันไม่ต้องการแต่แรกกลับกลายเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางในสำนักพิมพ์คริสเตียน เมื่อมองย้อนกลับไป ฉันเชื่อว่าน้ำพระทัยของพระเจ้าสำเร็จแล้วในเวลานั้น
“ลงมา!” เพื่อนของฉันพูดอย่างหนักแน่นกับลูกชายของเธอเมื่อเขาปีนขึ้นบนม้านั่งยาวในโบสถ์และโบกมือ “ผมอยากให้ศิษยาภิบาลมองเห็นผม” เขาตอบอย่างไร้เดียงสา “ถ้าผมไม่ยืนขึ้น เขาจะมองไม่เห็นผม”
แม้การยืนบนม้านั่งอาจเป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำสำหรับโบสถ์ส่วนใหญ่ แต่ลูกชายของเพื่อนฉันก็มีเหตุผลที่ดี การยืนขึ้นและโบกมือเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้ศิษยาภิบาลมองเห็นและสนใจเขา
เมื่อเราพยายามจะเรียกความสนใจจากพระเจ้านั้น เราไม่ต้องกังวลในเรื่องที่จะให้พระองค์มองเห็นเรา เพราะพระเจ้าทรงมองเห็นเราตลอดเวลา พระองค์ทรงเป็นผู้เดียวกับที่ได้เปิดเผยพระองค์เองต่อฮาการ์เมื่อเธออยู่ในช่วงเวลาที่ตกต่ำ โดดเดี่ยวและสิ้นหวังมากที่สุดในชีวิต เธอถูกใช้เป็นเครื่องมือและมอบให้กับอับรามโดยนางซารายภรรยาของท่านเพื่อให้มีบุตรชาย (ปฐก.16:3) และเมื่อเธอตั้งครรภ์ อับรามปล่อยให้ซารายเคี่ยวเข็ญฮาการ์ “นางซารายเคี่ยวเข็ญหญิงนั้น จนนางหนีไปให้พ้นหน้า” (ข้อ 6)
หญิงคนใช้ที่วิ่งหนีไปนั้นกำลังตั้งครรภ์ โดดเดี่ยว และเป็นทุกข์อย่างยิ่ง แต่ในท่ามกลางความสิ้นหวังในถิ่นทุรกันดารนั้น พระเจ้าทรงเมตตาและส่งทูตสวรรค์ไปพูดกับเธอ ทูตสวรรค์บอกเธอว่าพระเจ้าทรง “รับฟังความทุกข์ร้อนของเจ้า” (ข้อ 11) เธอตอบกลับว่า “พระองค์ทรงเป็นพระเจ้า ผู้ทรงเห็นข้าพเจ้า” (ข้อ 13 THSV11)
ช่างเป็นความเข้าใจอันประเสริฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท่ามกลางถิ่นทุรกันดาร พระเจ้าทรงมองเห็นฮาการ์และทรงมีพระเมตตา และไม่ว่าเรื่องราวจะยากลำบากมากแค่ไหน พระเจ้าก็ทรงมองเห็นคุณเช่นกัน
หนูสอบได้ 84 คะแนน!
ฉันรู้สึกได้ถึงความตื่นเต้นของลูกขณะอ่านข้อความของเธอทางโทร-ศัพท์ เธอเพิ่งเข้าเรียนในชั้นมัธยมปลายและใช้โทรศัพท์ส่งข้อความมาในช่วงพักกลางวัน หัวใจฉันเต้นแรงในฐานะคนเป็นแม่ ไม่ใช่เพียงแค่ลูกสาวของฉันทำคะแนนได้ดีในวิชาที่ยาก แต่เพราะเธอเลือกที่จะสื่อสารกับฉัน เธออยากแบ่งปันข่าวดีของเธอกับฉัน!
เมื่อฉันตระหนักว่าข้อความที่ลูกส่งมาทำให้ฉันมีความสุข ฉันจึงได้คิดว่าพระเจ้าจะรู้สึกอย่างไรเมื่อฉันสื่อสารกับพระองค์ พระองค์ทรงพอพระทัยเมื่อฉันพูดคุยกับพระองค์หรือไม่ การอธิษฐานเป็นวิธีที่เราสื่อสารกับพระเจ้าและเป็นสิ่งที่เราได้รับคำสั่งให้ทำ “อย่างสม่ำเสมอ” (1 ธส.5:17) การสนทนากับพระองค์ย้ำเตือนเราว่าพระองค์ทรงอยู่กับเราทั้งในยามทุกข์และยามสุข แม้พระเจ้าทรงรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับเรา แต่การแบ่งปันเรื่องราวของเรากับพระเจ้านั้นมีประโยชน์ เพราะมันจะเบี่ยงเบนความสนใจของเราและช่วยเราให้คิดถึงพระองค์ อิสยาห์ 26:3 กล่าวว่า “ใจแน่วแน่ [ที่จดจ่ออยู่กับพระองค์]นั้น พระองค์ทรงรักษาไว้ในศานติภาพอันสมบูรณ์ เพราะเขาวางใจในพระองค์” สันติสุขรอเราอยู่เมื่อเราเบนความสนใจไปที่พระเจ้า
ไม่ว่าเราจะเผชิญสิ่งใด ขอให้เราพูดคุยกับพระเจ้าตลอดเวลาและติดต่อกับพระผู้สร้างและพระผู้ช่วยให้รอดของเราอยู่เสมอ จงกระซิบคำอธิษฐาน และไม่ลืมที่จะแสดงความชื่นชมยินดีและ “ขอบพระคุณ” พระองค์ เพราะเปาโลบอกว่านี่คือ “น้ำพระทัยของพระเจ้า” ที่มีต่อเรา (1 ธส.5:18)
ภาพความทรงจำในเฟซบุ๊กปรากฏขึ้นมา โดยแสดงภาพชัยชนะของฉันในวัย 5 ขวบ ที่ชนะเกมการแข่งขันบันไดงูที่แสนสนุก ฉันแท็กภาพนี้ไปหาพี่ชายและน้องสาวเพราะตอนเด็กๆเรามักจะเล่นเกมนี้กัน เกมบันไดงูเป็นหนึ่งในเกมพื้นฐานที่เล่นกันมานานหลายศตวรรษ โดยช่วยให้ผู้คนได้เรียนรู้ที่จะนับเลขและสร้างความตื่นเต้นในการไต่บันไดเพื่อจะชนะการแข่งขันด้วยการไปถึงขั้นที่ 100 ให้เร็วที่สุด แต่จงระวัง! หากคุณหยุดที่ขั้น 98 คุณจะเลื่อนตกลงมาตามความยาวของงูซึ่งทำให้ล่าช้ากว่าเดิมไปจนถึงพ่ายแพ้ได้เลย
นั่นก็เหมือนกับชีวิตไม่ใช่หรือ พระเยซูทรงตระเตรียมเราด้วยความรัก ให้พรักพร้อมสำหรับช่วงเวลาที่มีทั้งขึ้นและลง พระองค์ตรัสว่าเราจะประสบ “ความทุกข์ยาก” (ยน.16:33) แต่พระองค์ได้ประทานข่าวสารแห่งสันติสุขด้วย เราไม่ต้องหวั่นไหวกับการทดลองที่เราเผชิญ เพราะเหตุใดน่ะหรือ เพราะพระคริสต์ได้ทรงชนะโลกแล้ว! ไม่มีสิ่งใดยิ่งใหญ่กว่าฤทธานุภาพของพระองค์ ดังนั้นเราจึงสามารถเผชิญทุกสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราด้วย “พระกำลังและฤทธานุภาพอันใหญ่ยิ่ง” ที่พระองค์ประทานให้กับเรา (อฟ.1:19)
ชีวิตก็เหมือนกับเกมบันไดงู ที่บางครั้งก็มีบันไดให้เราปีนขึ้นอย่างมีความสุข และในบางครั้งเราก็ล้มไถลลื่นลงมา แต่เราไม่จำเป็นต้องเล่นเกมแห่งชีวิตโดยปราศจากความหวัง เรามีฤทธิ์อำนาจของพระเยซูที่ช่วยให้เราเอาชนะทุกสิ่งได้